วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554


10. วาจาสุภาษิต

ลูกรัก...กลางดึกของคืนวันนี้ วันที่ 17 กรกฎาคม 2552 พ่อนั่งริมหน้าต่างบ้านหลังเก่ากลางดงไม้ ที่เมืองกาญจนบุรี มองไปนอกหน้าต่าง

วาจาสุภาษิต


โสภณ เปียสนิท

...........................

   

 

            ลูกรัก...กลางดึกของคืนวันนี้ วันที่ 17 กรกฎาคม 2552 พ่อนั่งริมหน้าต่าง


บ้านหลังเก่ากลางดงไม้ ที่เมืองกาญจนบุรี มองไปนอกหน้าต่าง เห็นความมืดแห่ง


รัตติกาลปกคลุมไปทั่ว ดีหน่อยที่บนท้องฟ้ากว้างใหญ่ไพศาลมีดาวจำนวนมาก


แขวนดวงกลาดเกลื่อนเป็นเพื่อนท้องฟ้า แม้ส่องแสงสว่างแวมเพียงน้อย แต่เมื่อ


อยู่ท่ามกลางความมืดมิด ช่างมากมีคุณค่าทางจิตใจ มีกวีคนหนึ่งเขียนเรื่อง


เพื่อนไว้ไพเราะมากว่า “มีเพื่อนแท้แค่หนึ่งถึงจะน้อย ดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา 


เหมือนมีเกลือนิดหน่อยด้อยราคา ยังดีกว่าน้ำเค็มเต็มทะเล” เห็นไหมว่าพ่อนำ


เรื่องเพื่อนกับเรื่องแสงวับแวมเล็กน้อยจากดวงดาวรวมเป็นเรื่องเดียวกันได้


                วันก่อนพ่อได้ยินลูกพูดกับแม่ด้วยคำที่ไม่ไพเราะนัก จึงเกิดความคิดว่า 


ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ พระได้สอนเรื่องไว้อย่างไรบ้าง เพื่อจะนำมาสอนลูกให้


รู้ว่า คำไม่ไพเราะนั้นไม่เหมาะสม แม้กับใครก็ตาม ยิ่งพูดกับคนที่เป็นแม่ยิ่งไม่


ควร เพราะพระสอนว่า แม่คือพรหม หรือ พระอรหันต์ของลูก หมายถึงว่า แม่อยู่


ในฐานะที่สูงสุดของลูกทุกคน พ่อจะสอนลูกในตอนนั้นทันที ก็ดูเหมือนว่าทั้งลูก


และแม่ยังอยู่ในอารมณ์ที่ขุ่นมัว ใจของลูกยังไม่เหมาะจะรองรับคำสอนของพระ 


จึงคิดว่าพ่อควรจะบันทึกไว้ให้ลูกได้อ่านจะดีกว่า



                พระสอนไว้ในมงคลแห่งชีวิต 38 ประการ ข้อที่ 10 เรื่อง “วาจาสุภาษิต” 


สอนให้รู้ว่าการพูดคำที่ไพเราะนั้นเป็นมงคลแก่ชีวิต คนเราควรพูดถ้อยคำไพเราะ


เสมอ ไม่ควรใช้คำพูดเพื่อทำร้ายผู้อื่น ทั้งคนใกล้และคนไกลตัว เหมือน “ปลา


อาศัยปากหากิน แต่ปากอาจทำให้ปลาติดเบ็ดจนเสียชีวิตได้เช่นกัน” ส่วนคนเรา


ก็เช่นกัน “ใช้ปากก้าวสู่ความสำเร็จได้ ปากครั้งปากก็พาจน ทำตนให้เสียหาย 


เสียชื่อ เสียทรัพย์ เสียอิสรภาพ บางครั้งถึงเสียชีวิต” “ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่นำมา


ยกตัวอย่างเพื่อคุยกัน “คนเรามีตาสองข้าง มีหูสองข้าง จมูกสองรู  แต่ทำหน้าที่


เพียงอย่างเดียว ส่วนปากมีปากเดียว แต่ทำหน้าที่สองอย่าง คือกิน และพูด”


            เมื่อวันก่อนโน้น ลูกเคยถามพ่อว่า “คำพูดที่เป็นวาจาสุภาษิตนั้นต้องพูด


อย่างไร” ซึ่งพ่อได้ตอบไปแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าลูกจำได้หรือไม่ จึงขอนำมาตอบไว้


ตรงนี้อีกครั้งว่า “การพูดดีคือวาจาสุภาษิตนั้นต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ต้อง


เป็นคำจริง 2. ต้องเป็นคำสุภาพ 3. ต้องก่อให้เกิดประโยชน์ 4. มีจิตเมตตา 5. ถูก


กาลเทศะ ถูกเวลา ถูกสถานที่” รู้ดังนี้แล้ว นับแต่นี้ไป เมื่อลูกจะพูดต้องคำนึงว่า 


สิ่งที่พูดต้องเป็นเรื่องจริง ต้องพูดอย่างสุภาพ พูดแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ พูด


แล้วไม่เกิดประโยชน์เราก็ไม่พูด ต้องพูดด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตา และเลือก


เวลาและสถานที่ ที่เหมาะสมในการพูดจา จึงจะเป็นการดี”


                พระเวียตนามรูปหนึ่ง ท่านเป็นที่เคารพรักของชาวพุทธทั่วโลก ชื่อว่า 


หลวงปู่ติช นัท ฮันท์ สอนศิษย์ของท่านเสมอให้พินิจพิเคราะห์ให้ดีว่า “เราพูดให้


คนมีความสุขครั้งสุดท้ายเมื่อใด” หากยังนึกไม่ออกก็อาจตั้งคำถามใหม่ว่า “ลูก


พูดถึงความดีของคนวันละกี่ครั้ง” เพราะท่านเห็นว่า คนเรามักใช้ปากเหมือนหอก


อันแหลมคม ทิ่มแทงผู้อื่นอยู่เสมอ ซึ่งโดยแท้แล้ว ปากของเรามีค่ามากกว่านั้น


มาก เราควรพูดแต่สิ่งดี ยกย่องชื่นชม ให้กำลังใจแก่คนทุกคน


               สังเกตดูให้ดีแล้วจะพบว่า “คนเรามักใช้วาจาทำร้ายผู้อื่นมากกว่าการ


ใช้วาจาเพื่อทำให้คนรอบข้างมีความสุข” ข้อนี้หากพิจารณาให้ถี่ถ้วนจะเห็นว่า


เป็นความจริง นักปราชญ์ทางสังคมกล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม คือคนเราไม่ว่า


จะดีหรือเลวสุดๆ อย่างไร ก็ต้องอยู่อาศัยด้วยกันในสังคม แล้วเหตุใดจึงใช้วาจา


ทำร้ายกัน ดูเหมือนว่าไม่สมเหตุสมผล อย่างที่ควรจะเป็น


               ลูกรักเพื่อให้ลูกได้ศึกษาถึงความสำคัญของการใช้คำพูด จึงขอยก


คำคมมากล่าวไว้อีก “คนฉลาดไม่ใช่เป็นแต่พูดเท่านั้น ต้องนิ่งเป็นด้วย” คำกล่าว


นี้มุ่งเน้นความสำคัญของการ “นิ่ง” โดยยึดคติไทยโบราณที่ว่า “พูดไปสองไพ


เบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง” บางครั้งบางเหตุการณ์ การนิ่งเฉยเป็นประโยชน์มากกว่า


การพูดเสียด้วยซ้ำ เขียนถึงตรงนี้ พ่อนึกถึงคำของท่านศาสตราจารย์พิเศษ 


จำนง ทองประเสริฐ อาจารย์ของพ่อเคยสอนว่า “บางครั้งหากเราไม่พูด คนอื่นก็


ไม่รู้ว่าเราไม่รู้” คำสอนของท่านช่างเข้ากับสุภาษิตของต้นนั้นเสียจริง


              เมื่อเรียนรู้ความสำคัญของการพูด ลูกควรรู้ด้วยว่า การพูดคำไพเราะ


อ่อนหวานนั้นมีอานิสงส์อย่างไร เรื่องนี้พระสอนว่า 1. การพูดที่ดีทำให้เป็นคนมี


เสน่ห์ 2. ทำให้เป็นที่รักของคนรอบกาย 3. ทำให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า 4. 


ทำให้มีวาจาสิทธิ์ 5. ย่อมได้ยินได้ฟังแต่สิ่งที่ดีงาม และ 6. ที่สำคัญการพูดไพเราะ


ทำให้ไม่ตกอบายภูมิ


                  การพูดดีมีผลมากมายถึงปานนี้ ลูกจะคิดเห็นเป็นอย่างไร ขอให้ลูก


พิจารณาให้ดี หากลูกต้องการให้ชีวิตของลูกดีงาม มีมงคลตลอดชีวิต ก็ต้องฝึก


ตัวเองให้พูดจาไพเราะไว้เสมอ ฝึกมากเข้าก็จะกลายเป็นความเคยชิน  จึงเป็น


หลักประกันได้ว่า ชีวิตของเรามีมงคลในข้อนี้ตลอดเวลา อีกอย่างหนึ่งหากลูก


พูดจาไพเราะเสมอ ถือได้ว่า ลูกมีความเคารพนับถือในองค์สมเด็จพระสัมมาสัม


พุทธเจ้า ด้วยการปฏิบัติบูชา


                   พ่อยังมีผลงานของนักกลอนคนสำคัญของประเทศมาเขียนไว้ที่นี่เพื่อ


ให้ลูกได้อ่าน ท่านชื่อว่าสุนทรภู่ บ้านเกิดอยู่ระยอง รับราชการเป็นที่โปรดปราน


ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 พระพุทธเลิศหล้านภาลัย กล่าวกัน


ว่าปฏิภาณกวีของท่านฉับไวเป็นที่เลื่องลือ คำกวีที่สอนเกี่ยวกับคำพูดของสุนทร


ภู่มีอยู่มากมาย และมักมีคนนำมาเอ่ยอ้างถึงเสมอ เช่น “ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรี


ศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์


เพราะพูดจา” บทนี้บอกว่า การพูดดีทำให้มีเกียรติยศ เป็นที่รักของผู้คนทั่วไป 


แต่ตรงกันข้ามหากพูดไม่ดี อาจทำให้ถึงตายได้ มิตรก็หมางเมิน ดีหรือชั่วเพราะ


คำพูดนี่เอง


              อีกบทหนึ่งท่านเขียนไว้ว่า “ปากเป็นเอกเลขที่โทโบราณว่า หนังสือเป็น


ตรีชั่วดีเป็นตราอัชฌาศัย” สอนว่าการพูดจานั้นสำคัญกว่าสิ่งใดทั้งหมด การ


เรียนรู้อ่านเขียนยังมีความสำคัญรองลงมา แต่ที่สำคัญ คนเรานั้นมีความดีความ


ชั่วเป็นตราประทับตลอดกาล ยังมีอีก ท่านเขียนว่า “อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้น


ซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย อันเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย เจ็บจนตาย


นั้นเพราะเหน็บให้เจ็บใจ” บทนี้สอนว่า รสหวานจากผลไม้ตามธรรมชาติที่ว่า


หวานหอมเป็นที่ติดอกติดใจของหมู่ชน ยังไม่ติดใจนรชนเท่ากับความหวานแห่ง


ถ้อยคำอันแสนไพเราะ แต่ในมุมตรงกันข้าม ความเจ็บปวดใดๆ ที่มีอยู่ในชีวิตนี้ 


ไม่ว่าจะเจ็บกายหรือเจ็บใจ ไม่นานนักก็จักหายไป แต่คำพูดเหน็บแนมนั้นกลับ


เจ็บยิ่งกว่า เรียกว่าเจ็บจนตายยังไม่ลืม เห็นหรือยังลูกรักของพ่อ คำพูดของเรา


นั้นหากไพเราะเป็นที่รัก คนฟังก็ประทับใจไม่ลืมเลือน แต่หากคำพูดนั้นเปื้อนบาป


หยาบคาย คนฟังจะเจ็บจำฝังใจจนวันสุดท้ายของชีวิต ฟังเรื่องนี้แล้วลูกได้คิด


บ้างหรือยังว่าจะทำอย่างไรกับคำพูดจาของเรา


                 อีกบทหนึ่งที่พ่อจำได้ ท่านเขียนว่า “เป็นมนุษย์สุดนิยมที่ลมปาก จะได้


ยากโหยหิวเพราะชิวหา แม้นพูดีมีคนเขาเมตตา จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะ


ความ” ไพเราะนักนะลูกรัก แถมยังมีความหมายลึกซึ้งกินใจ พ่ออ่านบทกวีเหล่า


นี้สองสามครั้งก็จำได้ขึ้นใจ ตั้งแต่เป็นวัยรุ่น จนถึงวันนี้ยาวนานเกินสามสิบปีแล้ว 


ท่านสอนว่า ลมปากทำให้คนพูดอิ่มก็ได้ อดก็ได้ ทำให้อิ่มหมายความว่า คนเรา


สามารถใช้คำพูดคำจาหากิน หรือเป็นใบเบิกทางไปสู่ความสำเร็จได้ และเช่นกัน 


คำพูดอาจทำให้ชีวิตของคนล้มเหลวได้


                ตอนเล็กๆ พ่อเคยอ่านเรื่อง “โคนันทวิศาล” ให้ลูกฟัง โตมาหน่อยพ่อก็


ยังซื้อหนังสือการ์ตูนเรื่องนี้มาให้ลูกอ่านอีกรอบ ภาพในหนังสือเล่มนั้นสวยงาม


มาก ตัวหนังสือใหญ่พอควรอ่านได้สบายตา เพราะพ่อเห็นว่า เรื่องนี้มุ่งสอนให้ผู้


อ่านตระหนักถึงคำพูดอันไพเราะอ่อนหวาน หวังว่าลูกจะจำได้และนำไปใช้ให้เกิด


ประโยชน์


                   ลูกรัก แม้ว่าในวันนี้พ่อจะเขียนถึงลูกเกี่ยวกับเรื่อง “คำพูด” แต่ใน


ภาพรวมแล้ว คนเราต้องดูแลตัวเองในสามด้าน คือ “กาย วาจา ใจ” ให้มีคุณภาพ


ที่ดี ถือเสมือนว่า ทั้งสามอย่างนั้นเป็นสิ่งมีค่าสูงสุด ควรได้รับการดูแลให้เกิด


ประโยชน์มากที่สุด แต่ทั้งสามอย่างนั้นเกี่ยวพันและสืบเนื่องกันตามลำดับ ใจต้อง


คิดถูกคิดดีก่อน วาจาจึงอ่อนหวานไพเราะ กายจึงทำเรื่องดีๆ เป็นลำดับสุดท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น