วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แผนชุมชน บ้านท่ามะนาว หมู่ที่ 2 ตำบลวังด้ง อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี (ตอน2)

ส่วนที่  3
                                                             ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน

          จำนวนประชากร    ชาย    หญิง   แยกตามอายุ  ( วัยแรงงาน    วัยการศึกษา   วัยเด็ก   วัยชรา  )
..........................................................................................
ช่วงอายุประชากร            
จำนวนเพศชาย
( คน)
จำนวนเพศหญิง
( คน)
จำนวนรวมประชากร
( คน)
น้อยกว่า 1 ปีเต็ม
8                                  
4
12
1 ปีเต็ม  -  2 ปี
2
1
3
3 ปีเต็ม  -   5ปี
10
11
21
6 ปีเต็ม  - 11ปี                         
10
10
20
12 ปีเต็ม- 14ปี                         
15
12
27
15 ปีเต็ม -17ปี                           
9
12
21
18 ปีเต็ม -49ปี
35
20
65
50 ปีเต็ม -60ปี
85
90
175
มากกว่า 60  ปีเต็มขึ้นไป                   
50
45
95
รวมทั้งหมด     


429

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด   165    ครัวเรือน

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
              จากการสำรวจข้อมูล  ( กชช. 2  ค.)  ปี  2552   เป็นหมู่บ้านที่มีทรัพยากรธรรมชาติ คือ ป่าไม้  ภูเขา  แม่น้ำแควใหญ่   และสวนสาธารณะ

ปัญหาที่เกิดขึ้น
                -  เขตป่าไม้ขาดความสมบูรณ์  จากผู้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า                                                                                                                                 -   ขาดการบำรุงรักษาให้สมบูรณ์   จากประชาชนและภาครัฐ                                                                                                                                                   -   ประชาชนในชุมชนขาดจิตสำนึก ในการรักษาทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน                                                                                                                                                         -   ขาดงบประมาณในการดูแล                                                                                                                                                                                                        ขนาดพื้นที่ของหมู่บ้าน อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง  มีพื้นที่ทั้งหมด  6,000 ไร่   มีพื้นที่อาศัยและทำการเกษตร  จำนวน 5,170 ไร่  พื้นที่สาธารณะ  830  ไร่                                                                                                 

แหล่งน้ำ   ( ข้อมูล   กชช.2 ค. )  ปี  2552                                                                                                                        -  บ่อน้ำตื้นส่วนตัวมีอยู่  2  บ่อ  ใช้การได้  2  บ่อ    บ่อน้ำสาธารณะมี  3 บ่อ   ใช้การได้ทั้ง  3  บ่อ                                                                                                                                    -  บ่อน้ำบาดาลส่วนตัว - ใช้การได้ -    บ่อสาธารณะ  5  บ่อ ใช้การได้  1  บ่อ                                                                                                                          -  มีน้ำประปาใช้ในหมู่บ้าน                                                                                                                                                                                                        -  คุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน   ไม่เหมาะสม                                                                                                                                                                                  -  ครัวเรือนทั้งหมดในชุมชน  มีน้ำสะอาดดื่มและบริโภคเพียงพอตลอดปี   จำนวน  165  ครัวเรือน                                                                                                                   -  น้ำเพื่อการเกษตร  มีเพียงพอเฉพาะฤดูฝน




สภาพทางภูมิศาสตร์      
                 เป็นหมู่บ้านที่มีปริมาณน้ำที่อุดมสมบูรณ์และฝนตกตามฤดูกาล  พื้นที่อยู่บริเวณที่ร้อนชื้น  ลักษณะที่ตั้งเป็นที่ราบลุ่มริมน้ำ   เหมาะแก่การเพาะปลูกทำการเกษตร  และมีศักยภาพของชุมชน    ดังนี้                                                                                                                                                -   มีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์  เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์                                                                                                                                  -   ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่และฐานทางเศรษฐกิจปานกลาง      มีผลผลิตทางการเกษตรส่งขายตลาด     เป็นการยกระดับรายได้ สามารถส่งลูกหลานศึกษาต่อระดับมัธยม และอุดมศึกษา                                                                                                                    -   ประชาชนได้รับสาธารณูปโภค  และสาธารณูปการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตพอสมควร                                                                                                                                    -   มีโรงแรมและรีสอร์ท  พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการท่องเที่ยวและการพักผ่อน

สภาพทางภูมิอากาศ         มีสภาพอากาศเช่นเดียวกับจังหวัดในภาคกลางทั่วไป   คือ  3 ฤดู                                                                                                                       -  ฤดูร้อน      เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม  ถึงปลายเดือนพฤษภาคม ของทุกปี                                                                                                                                                                                                       -  ฤดูฝน        เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน  ถึงปลายเดือนตุลาคม  ของทุกปี                                                                                                                                                               -  ฤดูหนาว    เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน   ถึงปลายเดือนมกราคม  ของทุกปี

ปัญหาทางกายภาพของหมู่บ้าน         เมื่ออยู่ในช่วงฤดูร้อนสภาพทางกายภาพของหมู่บ้านจะมีอากาศร้อนมากเนื่องจากมีภูเขาล้อมรอบหมู่บ้าน
ปัญหาทางกายภาพ         คือ   ป่าถูกทำลาย  การไหลของน้ำช่วงฝนตกจะชะล้างความสมบูรณ์ของผิวดินไป   เหลือทิ้งไว้เป็นหินกรวดเรียกว่าหินขี้นกยูง  ลักษณะพื้นดินเอียงลาดจากไหล่เขาลงสู่แม่น้ำ   การขังของน้ำไม่ดี  เก็บน้ำไม่อยู่

สภาพปัญหา
                -     ขาดความรู้  การบำรุงรักษา  คัดเลือกพันธุ์พืช                                                                                                                                                                                                  -     ขาดการรวมกลุ่มของเกษตรกร                                                                                                                                                                                            -     ขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ                                                                                                                                                                                



                -     ขาดการส่งเสริมอาชีพ (เสริม )                                                                                                                                                                                                     -     ขาดความรู้เรื่อง  การเกษตรแบบแผนใหม่                                                                                                                                                                                                                      -     ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ                                                                                                                                                                                                            -     ปัญหาการตลาด                                                                                                                                                                                                                      -     ปัญหาที่ดินเสื่อมโทรม                                                                                                                                                                                                          -     ประชาชนส่วนใหญ่ทำการเกษตร   น้ำไม่เพียงพอในการทำเกษตร                                                                                                                                    -     แหล่งน้ำ    และ ลำห้วยมีสภาพตื้นเขิน              

ข้อมูลทางสังคม   การเมือง   การปกครอง         
                 1.  สภาพความเป็นอยู่   มีวิถีชีวิตการดำเนินชีวิต  เป็นหมู่บ้านอยู่ในสังคมชุมชนและเกษตรกรรม  ประชาชนในหมู่บ้านก็ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทุกระดับ ที่มีการเลือกตั้ง  ซึ่งก็อยู่ในระบบประชาธิปไตยโดยเท่าเทียมกันและพึ่งพาอาศัยกันละกัน       ประชาชนมีอาชีพรับจ้างจากบริษัท    พนักงานโรงแรม   และทำงานในสนามกอล์ฟ  เป็นส่วนใหญ่     ผู้มีการศึกษาที่สูงมักจะย้ายไปประกอบอาชีพถิ่นอื่น 
                 2.  ศาสนาและความเชื่อ   ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีความเชื่อแบบโบราณเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ  มีพิธีกรรมทางศาสนา  เช่น  งานบวช   งานแต่งงาน   งานขึ้นบ้านใหม่   งานศพ   และมีกิจกรรมเลี้ยงพระที่มาปริวาสที่วัดท่ามะนาวประจำทุกปีระหว่างเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 10 วัน   มีการสวดสะเดาะเคราะห์  ประชาชนทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้านมาร่วมทำบุญใส่บาตรเป็นจำนวนมาก  วัดท่ามะนาวจึงเป็นศูนย์รวมทางจิตใจ   และทำพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
                3. วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น    ชาวบ้านในหมู่บ้านจะเข้าร่วมในพิธีต่างๆ  ทั้งวันสำคัญทางศาสนาและวันสำคัญทางประเพณี   เช่น  แห่เทียนเข้าพรรษา    ประเพณีลอยกระทง    ประเพณีสงกรานต์   การทำบุญกลางหมู่บ้าน  โดยชาวบ้านจะมารวมตัวกัน          ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน  ณ. ที่วัดท่ามะนาว  และที่ศาลพ่อปู่เขาโล้ง  กลางหมู่บ้าน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น