วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แผนชุมชน บ้านท่ามะนาว หมู่ที่ 2 ตำบลวังด้ง อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

                                                                  

 บทนำ
ความเป็นมา
               การทำให้ชุมชนเข็มแข็งไม่สามารถทำได้โดยการสร้างจากบุคคลภายนอกชุมชน  หรือทำโดยการสอนการฝึกอบรม    ชุมชนที่เข็มแข็งจะมีกระบวนการในการจัดการของชุมชนมีการเรียนรู้ร่วมกัน    มีกิจกรรมเพิ่มคุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจของคนในชุมชน  ในระบบความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนเป็นเครือข่ายมีการขยายพันธมิตรออกไปนอกชุมชน  ในลักษณะสร้างความสัมพันธ์   ดังนั้น  คนในชุมชนจึงต้องร่วมมือและสามัคคีกัน   สร้างพลังชุมชน       และใช้พลังชุมชน       ในการพัฒนาชุมชน  "       
               แผนชุมชน  คือ   
                        -  แผนงานที่คนในชุมชน  ร่วมคิด  ร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเองโดยใช้  หลักการหาข้อมูลเป็นฐาน                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                        -  แผนงานที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนโดยตรง                                                                                                                             -  แผนงานหรือกิจกรรมทางเลือกที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของคนในชุมชน                                             

ความสำคัญของแผนชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง           
                แผนชุมชน       เป็นกระบวนการเสริมสร้างการเรียนรู้ของคนในชุมชน  ทำให้รู้จักตัวตนของตนเองในชุมชนว่ามีแนวทางในการที่จะพัฒนาชุมชนของตนเองไปทางที่ดี  และมีประสิทธิภาพ  สามารถดำเนินการตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน และเหมาะสมกับพื้นที่ในชุมชน   แผนชุมชนยังเป็นเครื่องมือการพัฒนาและเชื่อมประสานภาคีการพัฒนาทั้งทางภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนงบประมาณ  และวิชาการอื่นๆ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดทำแผนชุมชน                                                                                                                                                        1.  คนในชุมชนได้แลกเปลี่ยนความรู้และเรียนรู้ร่วมกัน                                                                                                                                       
                      2.  คนในชุมชนได้มีโอกาสเห็นข้อดี  และข้อเด่น  และมีข้อจำกัดของชุมชนในการพัฒนาอย่างมีเป้าหมาย                                                3.  คนในชุมชนมีช่องทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างเหมาะสม และครอบคลุม                                                   
                      4.  คนในชุมชนสามารถกำหนดกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนได้    

                      5.  ทำให้คนในชุมชนสามารถคิดเป็น และกล้าที่จะตัดสินใจได้ด้วยตนเอง              
                      6.  ชุมชนสามารถวางแผนจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ  หรือทุนชุมชน ทั้งทุนบุคคลและทุนสังคม                                                            7.  คนในชุมชนสามารถรับผลประโยชน์ร่วมกันอย่างทั่วถึง  และเท่าเทียมกัน                                                                                             8.  ความร่วมมือกันของคนในชุมชน จะก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีขึ้นและเอื้ออาทรต่อกัน                                                                                    9.  ปลูกฝังทัศนคติ    และค่านิยมที่ดีให้กับลูกหลานสืบทอดต่อๆกันไป                                                                                                        10.  สามารถหาแนวร่วมกันในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเองได้อย่างง่ายดาย 


ส่วนที่  2
                                                 ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน
ประวัติหมู่บ้าน
    ที่มาของหมู่บ้านท่ามะนาว  หมู่ 2  ตำบลวังด้ง  อำเภอเมือง   จังหวัดกาญจนบุรี  ที่มาของชื่อหมู่บ้านท่ามะนาว      มีชาวบ้านต่างท้องถิ่น   ได้อพยพขึ้นมาประกอบอาชีพทำไร่   ตัดไม้   หาของป่าขาย   คนส่วนใหญ่ตัดไม้ลวก ไม้ไผ่  และนำไปขายจังหวัดราชบุรี   สมุทรสงคราม   ตอนแรกเป็นการอาศัยอยู่ชั่วคราว   เมื่อมีความมั่นคงจึงได้ตั้งเป็นหมู่บ้านถาวร   ที่ชื่อว่า  บ้านท่ามะนาว   เนื่องจากบริเวณท่าน้ำมีต้นมะนาวป่าขึ้นเป็นดงใหญ่   ชาวบ้านที่ไปตัดไม้ในป่าจะต้องลากไม้ลง ท่าน้ำ  คนงานมักจะถามว่าจะลากไม้ไปลงที่ท่าไหน    หลายคนบอกว่าท่ามะนาว  หรือท่าต้นมะนาว  เมื่อมีการทำมาหากินเจริญขึ้น   จึงได้ตั้งเป็นหมู่บ้านอย่างถาวร  และตั้งชื่อว่า  บ้านท่ามะนาว   ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.  2460  เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
             อีกอย่างก็บอกว่า  มีหินก้อนใหญ่อยู่กลางแม่น้ำ  รูปทรงกลมคล้ายผลมะนาว  เวลาชาวบ้านล่องแพลงมาต้องชนหินก้อนนี้เป็นประจำ  ทำให้แพแตก  ชาวบ้านมักจะบอกว่า  แพแตกที่หินมะนาว  หรือแพแตกที่ท่ามะนาวต่อมาชุมชนขยายมากขึ้นจึงเรียกว่าหมู่บ้านท่ามะนาวมาจนถึงทุกวันนี้
              จากสมุดบันทึกหมายเหตุรายวันโรงเรียนบ้านท่ามะนาว  โดยคุณครูจรัส  ปิ่นกุมภีร์ มีผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำชุมชนดังนี้
1.  ผู้ใหญ่ไฮ้  สุนจิรัตน์
2.  ผู้ใหญ่หลาย  ไพรเถื่อน
3.  ผู้ใหญ่เพิ่ม  ไพรเถื่อน
4.  ผู้ใหญ่นิพนธ์  สุนจิรัตน์
5.  ผู้ใหญ่บุญนะ  ผิวอ่อนดี
6.  ผู้ใหญ่เจริญพงศ์  เปียสนิท

อาณาเขตของหมู่บ้าน

                    ห่างจากตัวจังหวัดกาญจนบุรี    38   โลเมตร                               
 ทิศเหนือ              ติดต่อกับ         ตำบลช่องสะเดา              
 ทิศใต้                   ติดต่อกับ        หมูที่ 8 บ้านวังจาน                                                          
ทิศตะวันออก      ติดต่อกับ         หมูที่ 6 บ้านหนองประชุม                                                                                            
ทิศตะวันตก         ติดต่อกับ         เขตอำเภอไทรโยค


แผนที่ /  ที่ตั้งของหมู่บ้าน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น